วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สตอรี่บอร์ด คืออะไร

STORY BOARD 

               สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
หลักการเขียนสตอรี่บอร์ด

          รูปแบบของสตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วย ส่วนคือ ส่วนภาพกับส่วนเสียง โดยปกติการเขียนสตอรี่บอร์ด ก็จะวาดภาพในกรอบสี่เหลี่ยม ต่อด้วยการเขียนบทบรรยายภาพหรือบทการสนทนา และส่วนสุดท้ายคือการใส่เสียงซึ่งอาจจะประกอบด้วยเสียงสนทนา เสียงบรรเลง และเสียงประกอบต่างๆ
สิ่งสำคัญที่อยู่ภายในสตอรี่บอร์ด ประกอบด้วย
ตัวละครหรือฉาก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่หรือตัวการ์ตูน และที่สำคัญ คือ พวกเขากำลังเคลื่อนไหวอย่างไร
มุมกล้อง ทั้งในเรื่องของขนาดภาพ มุมภาพและการเคลื่อนกล้อง
เสียงการพูดกันระหว่างตัวละคร  มีเสียงประกอบหรือเสียงดนตรีอย่างไร
ข้อดีของการทำ Story Board
1. ช่วยให้เนื้อเรื่องลื่นไหล เพราะได้อ่านทวนตั้งแต่ต้นจนจบก่อนจะลงมือวาดจริง
2. ช่วยให้เนื้อเรื่องไม่ออกทะเล เพราะมีแผนการวาดกำกับไว้หมดแล้ว
3. ช่วยกะปริมาณบทพูดให้พอดีและเหมาะสมกับหน้ากระดาษและบอลลูนนั้น ๆ

4. ช่วยให้สามารถวาดจบได้ในจำนวนหน้าที่กำหนด

ขั้นตอนการทำสตอรี่บอร์ด

การเขียนสตอรี่บอร์ด

1.วางโครงเรื่องหลัก ไม่ว่าจะเป็น Theme, ตัวละครหลัก, ฉาก ฯลฯ

    1.1  แนวเรื่อง
    1.2  ฉาก
    1.3  เนื้อเรื่องย่อ
    1.4  Theme/แก่น (ข้อคิด/สิ่งที่ต้องการจะสื่อ)
    1.5  ตัวละคร  สิ่งสำคัญคือกำหนดรูปลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวให้โดดเด่นไม่คล้ายกันจนเกิน ไป ควรออกแบบรูปลักษณ์ของตัวละครให้โดดเด่นแตกต่างกัน และมองแล้วสามารถสื่อถึงลักษณะนิสัยของตัวละครได้ทันที

2.  ลำดับเหตุการณ์คร่าว ๆ

จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลยปมทุกอย่างในเรื่อง การสร้างปมให้ผู้อ่านสงสัยก็เป็นจุดสำคัญในการสร้างเรื่อง ปมจะทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามในใจและคาดเดาเนื้อเรื่องรวมถึงตอนจบไปต่าง ๆ นานา

3. กำหนดหน้า

4. แต่งบท

            เป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนลงมือวาดสตอรี่บอร์ด ควรเขียนบทพูดและบทความคิดที่จะใช้เขียนลงในหนังออกมาโดยละเอียดเพื่อที่จะได้กำหนดขนาดของบอลลูนและจัดวางลงบนหน้ากระดาษได้อย่าเหมาะสม

5. ลงมือเขียน Story Board


ตัวอย่างการเขียนสตอรี่บอร์ด




ความหมายของหนังสั้น

ความหมายของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น"

              ไม่มีคำจำกัดความของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น" (short narrative หรือ short film) ที่แน่ชัดว่าคืออะไร แต่อนุโลมกันว่าถ้าภาพยนตร์นั้นมีความยาวต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง ถือว่าเป็นภาพยนตร์สั้นทั้งสิ้น  เช่น 
  • ภาพยนตร์สั้นๆ (short narrative หรือ short film)    
  • าพยนตร์สารคดี (documentary film)     
  • ภาพยนตร์กึ่งสารคดี (docu-drama) ภาพยนตร์การ์ตูน (animation) 
  • ภาพยนตร์ศิลปะ (art film) 
  • ภาพยนตร์ทดลอง (experimental film) 
  • ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา (educational film) 
  • าพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ (television commercial) ฯลฯ 
  • ศิลปะภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) มิวสิควิดีโอ ฯลฯ
 แต่ในที่นี้ ส่วนใหญ่จะพูดถึงภาพยนตร์ศิลปะและภาพยนตร์เรื่องสั้นๆ

เทคนิควิธีการสร้างหนังสั้นง่ายๆ

ขั้นแรก หาองค์ประกอบด้านวิธีการ คือ หลักการ การวางแผน การถ่ายทำ การตัดต่อ การประเมินผล
ขั้นสอง หาองค์ประกอบด้านบุคลากร คือ บุคลากรในหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ ตัวละคร บุคคลทางเทคนิค รวมไปถึงผู้มีความสามารถเฉพาะครับ จะดีมากๆ และอีกอย่างคือทีมเวิร์ค
ขั้นสาม เตรียมการผลิต คือ วางแผน เตรียมสถานที่ บท อุปกรณ์ ให้ครบ
ขั้นสี่  บทหนัง คือ วางบท คำพูด ระยะเวลาสถานที่ เรื่องราว ที่จะสื่อออกมา เรื่องบทจะมี หลายแบบ
บทแบบสมบูรณ์  เก็บทุกรายละเอียดทุกคำพูด
บทแบบอย่างย่อ   เปิดกว้างๆให้ผู้ชมสังเกตในความเข้าใจของตนเอง
บทแบบเฉพาะ  
บทแบบร่างกำหนด
ขั้นห้า การผลิต อย่างแรกเลย แต่ละฉากต้องเลือกมุมกล้องให้เหมาะสม กับสภาพอากาศ ขนาดวัตถุ ว่าควรเห็นแค่ไหน  ขนาดมุมกล้องมีหลายแบบ เยอะมาก มีแบบ ระยะไกลมาก ระยะไกล ระยะปานกลาง ระยะใกล้  เป็นต้น
ขั้นหก ค้นหามุมกล้อง
มุมคนดู  เป็นมุมถ่ายจากรอบนอกของฉากนั้นๆ เหมือนผู้ชมเป็นคนสังเกตฉากนั้นๆ
มุมแทนสายตา                 
มุม point of view   มุมนี้แนะนำให้ใช้เยอะๆ  สวยมากในการทำหนัง เป็นมุมที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ เช่น การถ่ายข้ามไหล่ของตัวละคร หรือวัตถุ
ขั้นเจ็ด การเคลื่อนไหวของกล้อง
การแพน การทิลท์ การทำเคลื่อนไหวกล้องให้เห็นตำแหน่งวัตถุนั้นสัมพันธ์กัน
การดอลลี่ การติดตามการเคลื่อนไหว
การซูม เป็นการเปลี่ยนองค์ประกอบภาพ เหมือนเน้นความสนใจในจุดๆหนึ่ง
ขั้นแปด เทคนิคการถ่าย
จับกล้องให้มั่น  จับแบบกระชับกับตัวเลย   คือแขนทั้งสองข้างแนบตัวเลย และไม่แนะนำให้เคลื่อนไหวกล้องแบบรวดเร็ว กล้องจะปรับโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอ
ขั้นเก้า หลังการผลิต ก็ต้องตัดต่อ เพิ่มเสียง เอ็ฟเฟคต์ ความคมชัด ความเด่นชัดเรื่องตัวอักษรหนังสือ
ขั้นสิบ การตัดต่อ
อย่างแรกจัดลำดับภาพ และเวลาให้ตรงและเหมาะสม อันไหนเกินยาวก็ให้ตัดทิ้ง
อย่างสองคือจัดภาพให้เหมาะสม เนื้อหาและโครงเรื่องที่วางไว้
อย่างสามแก้ไขข้อบกพร่อง
อย่างสี่ เพิ่มเทคนิคให้ดูสวยงาม
อย่างห้า ควบคุมเรื่องเสียง
ขั้นตอนการตัดต่อและเชื่อมฉากมีอะไรบ้าง
การตัด cut
การเฟด fade
การทำภาพจางซ้อน
การกวาดภาพ
ซ้อนภาพ
ภาพมองทาจ
โปรแกรมที่จะนำมาใช้ แนะนำดังต่อไปนี้
1. movie maker ตัดต่อเบื้องต้น ตัวเชื่อมเฟรมค่อนข้างน้อย
2. Sony vegas 7.0    ดีขึ้นมา การทำงานค่อนข้างละเอียดครับ มีลูกเล่นเยอะมากมาย (แนะนำสำหรับมือใหม่)
3. adobe premiere pro 2.0  มีการตัดต่อค่อนข้างละเอียดอ่อนมากๆ  ใช้งานยากแต่ ถ้าใช้เป็นสามารถสร้างหนังได้ใหญ่ๆเลย เพียงแต่การใช้งานยุ่งยากไม่เหมาะกับมือใหม่

โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อหนังสั้น

โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อหนังสั้น


ฟรี Windows Movie Maker - คลาสสิคสุดๆ ใช้ไม่ยาก  Option ก็ไม่เยอะ ลูกเล่นก็ไม่แยะ
ไม่แนะนำ


ฟรี Lightworks - โปรแกรมตัดต่อหนังที่ค่อนข้างเนี้ยบ professional ฟรีๆ ถ้าจะใส่ effect ต้องทำเองนะ ใช้ยากหน่อย


ฟรี(หรือ $15) iMovie - ถ้าเพิ่งซื้อแมคใหม่มาไม่นาน จะแถมฟรีมาให้ แต่ถ้าไม่มีก็ต้องซื้อ 15 เหรียญ โปรแกรมนี้ใช้ง่าย ลูกเล่นก็มีให้มา ถึงไม่แยะมากแต่ก็ work น่าจะเพียงพอสำหรับหนังสั้น


$49 Corel Video Studio - เห็นบอกกันว่า effect เยอะดี ใช้ไม่ยากมาก ราคาก็ไม่แพงนัก น่าลงทุนซื้อ (เหมาะสำหรับนักตัดต่อวิดีโอมือใหม่-ปานกลาง)


$44 Sony Vegas Movie Studio HD - ไม่เคยใช้ แต่ดู review แล้วก็ดีนะ โปรแกรมสำหรับมือใหม่-ปานกลาง เช่นกัน


$79 Adobe Premiere Elements

ทุนหนา: ราคาหลายพัน-หมื่น
Sony Vegas Pro
Adobe Premiere Pro
Final Cut Pro

Avid Pro

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)
เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)
หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นถ้า…” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ&จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)
คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)
เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

5. บทภาพยนตร์ (screenplay)
สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6. บทถ่ายทำ (shooting script)
คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง

7. บทภาพ (storyboard)

คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

10 เทคนิคการถ่ายภาพท่องเที่ยวจากมือถือให้สวยงามอย่างมือโปร

1. หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์และปรับโหมดเป็น HDR



สมัยนี้กล้องมือถือจะพยายามใส่ฟังชั่น HDR (High Dynamic Range) เข้ามา ซึ่ง HDR นี้ก็คือการถ่ายโดยเก็บรายละเอียดในภาพทั้งส่วนมืดและสว่างให้มีรายละเอียดครบถ้วน ฉะนั้นหากถ่ายภาพในโหมดนี้แล้ว เราก็จะแก้ปัญหาหน้ามืดเมื่อหันกล้องเข้าหาดวงอาทิตย์ได้ระดับหนึ่งทีเดียว  แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด ให้รอช่วงที่พระอาทิตย์กำลังจะตก ช่วงนั้นแสงจะไม่รุนแรงมากนัก ทำให้เราสามารถเก็บภาพที่มีรายละเอียดแสงสีที่สวยงามได้ และยิ่งวันไหนที่ท้องฟ้าเป็นใจ เราก็จะได้ภาพท้องฟ้าสวย ๆ อย่างแน่นอน


2. ถ่ายช่วงเวลาทอง



หลาย ๆ คนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัด ๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็ง ๆ แสงไม่สวยเลย  ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา

ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ  ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่น ๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลือง ๆ แดง ๆ  คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว   เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง Golden moment


3. ถ่ายช่วงทไวไลท์



ทไวไลท์คืออะไร ? มันคือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตกนั่นเอง

เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราดูรูปของช่างภาพอาชีพหลายคน ท้องฟ้าในรูปมันเป็นสีฟ้า น้ำเงินสดใส แต่รูปของเราท้องฟ้ากลับดำมืด ทั้ง ๆ ที่เป็นกลางคืนเหมือนกัน  คำตอบคือ เพราะเขาถ่ายในช่วงทไวไลท์นี่แหละ

ในช่วงเวลาดังกล่าว สมดุลระหว่างแสงบนท้องฟ้าและแสงไฟในเมืองจะพอดี ทำให้เป็นช่วงที่ถ่ายได้สีสันสวยงามมากที่สุดของวัน ซึ่งช่วงดีที่สุดของทไวไลท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสว่างของเมืองนั้น ๆ ด้วย

ฉะนั้นถ้าอยากถ่ายไฟเมืองแบบสวย ๆ ลองรอหลังพระอาทิตย์ตกดู พอเมืองเริ่มเปิดไฟก็ลองถ่ายดูเลย รับรองว่าได้ภาพน่าประทับใจแน่นอน โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ ๆ ก็มักจะถ่ายในที่มืดได้ดีขึ้นมากด้วย เช่น GALAXY S6


4. หาเนื้อหาเด่นของภาพ



บางทีเราเห็นวิวที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลย

ฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย  และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว เช่น GALAXY S6 ที่ 16  ล้าน  หรือ IPHONE6 ที่ 8 ล้าน ถึงถ่ายมาแล้ว crop ก็ยังละเอียดพอจะลงโซเชียลเนทเวิร์คได้สบาย ๆ

5. เก็บเรื่องราว



บางครั้งภาพที่ดูธรรมดา ๆ แต่พอมีคนมาเดินในภาพ กลับทำให้ภาพเกิดเรื่องราวขึ้นมาได้ ทั้งจาก การแต่งกาย ท่าทาง หรือสายตาของคนเหล่านั้น

ลองพยายามรวมคนหรือสัตว์เข้ามาในภาพดู และพยายามจัดให้คนหรือสัตว์นั้นเป็นจุดสนใจของภาพ จะทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้นเยอะเลย

น่าดีใจที่การเก็บภาพคนและสัตว์ด้วยมือถือนั้นดูเป็นมิตรมากกว่าการแบกกล้องใหญ่ ๆ เข้าไปถ่าย แต่กระนั้นก็ตาม การถ่ายภาพบุคคลแบบใกล้ชิดและดูจงใจก็ควรจะขออนุญาตแบบก่อนทุกครั้ง


6.มือต้องนิ่ง 

ปัญหาหลักเลยที่ทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจคือ มือเราดันไม่นิ่ง ยิ่งบางคนไม่ถนัดกับการถ่ายด้วยมือถือเอาซะเลย เพราะมันเล็กเกินไป ฉะนั้น เราต้องมาฝึกถ่ายให้มือนิ่งกัน โดยเริ่มจากลองกลั้นหายใจตอนจะกดถ่ายดูก่อน เพราะส่วนใหญ่จะนิ่งขึ้นพอสมควร หรือหากเป็นช่วงเย็นที่แสงไม่พอ ลองหาพื้นหรือผนังที่แข็งแรง แล้วเอามือถือไปพิงแล้วค่อยถ่าย จะลดอาการสั่นได้ดีทีเดียว หรือหากถึงที่สุดจริง ๆ ให้ใช้ขาตั้งเล็ก ๆ และตั้งเวลาถ่ายเอา คราวนี้ยังไงก็นิ่งแน่นอน

7. ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ





ไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็จัดองค์ประกอบแบบง่าย ๆ ได้ โดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือ กฎ 3 ส่วน  แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือนอน 3เส้น   และพยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้นเหล่านี้  ซึ่งพอเราใช้ทั้งเส้นแนวนอนและตั้งตีลงไปในรูป จะเกิดจุดตัดขึ้นมา เราเรียกว่าจุดตัดเก้าช่อง  เราก็พยายามจุดสำคัญของภาพอยู่ที่จุดตัดทั้ง 4 ก็จะทำให้ภาพสวยขึ้นง่าย ๆ

แต่ แต่ แต่  กฎนี้ก็ไม่ได้ตายตัวขนาดนั้น เราสามารถหาวิธีอื่น ๆ ที่ทำให้องค์ประกอบดูดีขึ้นได้อีกมากมาย แต่สำหรับผู้เริ่มต้น ยึดหลักการนี้ไว้ก็จะเป็นการง่ายมากกว่า

8. พื้นอย่าเอียง



เวลาที่เรามองภาพเราแล้วรู้สึกแปลก ๆ ชอบกล ให้ดูก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่าภาพตรงหรือเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง  เวลาถ่ายออกมาก็ไม่ได้ดูตรงนี้มากนัก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึกของภาพทีเดียว ฉะนั้นพยายามถ่ายออกมาให้ภาพตรง พื้นตรง จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมามากเลยเชียว

 9. ใช้ APP




แน่นอนถ้าใช้มือถือถ่าย การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ  การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย ก็สามารถทำได้ใน APP นี่แหละ และเราขอแนะนำ SNAPSEED APP ที่ใช้งานง่ายและฟรี สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ควรเก็บไว้ประจำเครื่องเลย

 10. เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน




นักดาบที่ดีควรจะรู้จักดาบของตัวเองทุกซอกมุม ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือเราก็ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะความละเอียดเท่าไหร่ ถ่ายแบบไหนได้บ้าง ซูมแล้วภาพแตกไหม ถ่ายในที่มืดดีหรือเปล่า  สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งข้อจำกัด และตัวสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้เสมอ ฉะนั้น ศึกษาอาวุธคู่กายของเราให้ดี และอย่าลืม ทำความสะอาดเลนส์บ่อย ๆ ด้วยล่ะ เพราะบางคนถ่ายภาพออกมามัวตั้งเป็นปี แล้วนึกว่าเป็นที่กล้อง แต่ที่แท้ เลนส์มีรอยนิ้วมือนี่เอง



เป็นอย่างไรกันบ้างกับหลักการถ่ายภาพท่องเที่ยวด้วยมือถือแบบคร่าว ๆ หวังว่าคงจะพอเป็นพื้นฐานให้ทุกท่านได้นำไปทดลองฝึกกันได้บ้าง  เพราะจริง ๆ หลักการพวกนี้ส่วนใหญ่ก็นำมาจากหลักการถ่ายภาพทั่วไปของกล้องใหญ่นั่นแล ฉะนั้น ฝึกกับมือถือในตอนนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะได้นำไปใช้กับกล้องแบบมืออาชีพก็ได้นะ